โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า คือ ภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ ร่วมกับความรู้สึกท้อแท้ มองโลกในแง่ร้ายมีความรู้สึกด้อยค่าในตัวเอง และมีอาการในลักษณะ เป็นต่อเนื่องนานมากกว่า 2 สัปดาห์ จนถึง 1 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้า กับภาวะเครียดทั่วไป คือ ภาวะซึมเศร้าจะมีความต่อเนื่องของอาการยาวนานกว่า และภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดโดยมีสิ่งกระตุ้น (Stressor) หรือไม่มีก็ได้ แตกต่างจากภาวะเครียดทั่วไป ที่มักเกิดโดยมีสิ่งกระตุ้นให้เครียด กังวล นำมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ หากมีอาการ หรือสงสัยว่าจะมีอาการ ควรรีบมาปรึกษาจิตแพทย์โดยเร่งด่วน…WBET69

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  1. ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง
  2. พันธุกรรม
  3. เหตุการณ์สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เครียด
  4. โรคทางกายภาพ และยาบางชนิด

อาการของโรคซึมเศร้า

  • ด้านอารมณ์ เศร้าท้อแท้ อารมณ์อ่อนไหว เบื่อหน่ายกับสิ่งรอบข้าง ไม่มีความสุข หรือสนุกกับกิจกรรมที่ทำอยู่ประจำ หรือบางคนมีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายมากขึ้น
  • ด้านความคิด เริ่มมองสิ่งต่างๆ รอบตัวในเชิงลบมากกว่าความเป็นจริง อาจมีความคิดเรื่องไม่อยากมีชีวิต อยากฆ่าตัวตายในผู้ที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรงมากๆ
  • ด้านความจำ เริ่มไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ทำ หลงลืมบ่อยๆ ทำงานผิดๆ ถูกๆ จนมีปัญหากระทบในชีวิตประจำวัน เช่น สอบไม่ผ่าน ถูกให้ออกจากหน้าที่การงาน
  • ด้านร่างกาย อ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร กินมากขึ้น นอนหลับยาก หรือนอนมากกว่าเดิม
  • ด้านสังคม เริ่มแยกตัวไม่อยากยุ่งกับใคร บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิมจนเป็นที่สังเกตได้ของคนรอบข้าง

วิธีรับมือเมื่อมีภาวะซึมเศร้า

  1. ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชอบ หรืองานอดิเรกที่ชอบทำ
  2. พยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคนที่ไว้วางใจ แสดงความรู้สึกให้คนอื่นได้รับรู้ หลีกเลี่ยงการปิดบังความรู้สึก หรือเก็บกดความรู้สึก เพราะอาจทำให้ภาวะซึมเศร้าแย่ลง
  3. ออกกำลังกาย 30-45 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
  4. ช่วงมีภาวะซึมเศร้าให้หลีกเลี่ยง การตัดสินใจเรื่องที่สำคัญๆ ในชีวิต เพราะเป็นช่วงที่ใช้ความคิดต่างๆ ได้ไม่ตรงความเป็นจริง อาจมีทัศนคติเชิงลบมากกว่าปกติ ที่ทำให้ตัดสินใจได้ไม่ถูกต้อง
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หรือแอลกอฮอล์ (มีผลวิจัยในต่างประเทศว่า สุรา แอลกอฮอล์ มีผลให้ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีอาการรุนแรงมากขึ้น เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากขึ้น)

การรักษาโรคซึมเศร้า การรักษาด้วยยา

  • ปัจจุบันมียารักษาโรคซึมเศร้า ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพ ตามลักษณะเฉพาะของผู้มีภาวะซึมเศร้า โดยยาเหล่านี้จะทำหน้าที่ปรับสารสื่อประสาท ที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ในสมอง ให้กลับมาทำงานปกติ (มีการค้นพบว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสาร สื่อประสาทในสมองบางตัวทำงานน้อยเกินไป ยาจึงไปช่วยปรับให้สารสื่อประสาท นี้กลับมาทำงานตามปกติ)
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า จะต้องทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใส และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ยาจึงออกฤทธิ์เต็มที่
  • เมื่ออาการเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทานยา ต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ตามลักษณะอาการผู้ป่วย

โรคซึมเศร้า การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด

มักใช้วิธีนี้ในรายที่ เป็นซึมเศร้าระดับน้อยๆ ที่ไม่รุนแรง หรือจิตแพทย์ประเมิน แล้วว่ายังไม่รุนแรงถึงขั้นใช้ยา วิธีนี้ต้องใช้เวลานาน โอกาสสำเร็จจะต่ำกว่าวิธีการรักษาด้วยยา

บทบาทของญาติ

  1. ใส่ใจ ให้กำลังใจผู้ป่วย
  2. รับฟังความคิดผู้ป่วย เข้าใจในสภาวะความรู้สึกของผู้ที่เป็นซึมเศร้า มองว่าเป็นสิ่งที่ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ควรคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเลือกจะเป็นเอง หรือมองว่าจะหายได้เองโดยไม่รักษา
  3. ในรายที่มีความเสี่ยงสูง มีความคิดฆ่าตัวตาย ญาติจะต้องดูแลใกล้ชิด 24 ชม. ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวจนกว่าจิตแพทย์ จะประเมินแล้วว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น ความเสี่ยงลดลง พึงตระหนักว่าโรคซึมเศร้า และภาวะคิดฆ่าตัวตาย เป็นสิ่งที่คาดการณ์ ไม่ได้ว่าอาการจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไร สามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ทุกเสี้ยววินาที จึงจำเป็นต้องเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาในช่วงที่ยังมีอาการ

ประเภทของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น

  • โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)
    โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยมากมักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยๆ เนือยๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า ช่วงภาวะซึมเศร้านี้สามารถเกิดในช่วงหลังคลอดได้ และมีอาการหลง หูแว่วประสาทหลอนเกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนั้นควรเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)
    โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น แต่จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง และรู้สึกหมดหวัง
  • โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นก่อนมีระดู  (Premenstrual  depressive disorder)
    ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายก่อนมีระดู  อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วันหลังจากมีระดู อาการที่พบบ่อย  คือ  อารมณ์แกว่ง  รู้สึกเศร้า  อ่อนไหวง่าย  ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย  รู้สึกสิ้นหวัง ดูถูกตนเอง  อาจมีอาการวิตกกังวล เครียด นั่งไม่ติด สมาธิลดลง  รู้สึกล้า อ่อนเพลีย  ไม่อยากทำอะไร  ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง  การนอนผิดปกติไปจากเดิม  และมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย  เช่น  เจ็บเต้านม  เต้านมบวม  ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ  ตัวบวมขึ้น

ท้ายที่สุด… เราไม่สามารถรักษาหรือบำบัดโรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่าชีวิตของตนเองไม่ปกติ ขาดความสมดุล มีความเครียดสูง การพบจิตแพทย์ก็เหมือนกับการตรวจสุขภาพใจให้เราเข้าใจสภาพจิตใจของตนเองในขณะนั้น workspacez แพทย์จะแนะนำวิธีป้องกันและปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา เพราะปัญหาทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น ไม่ใช่มีสาเหตุจากโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว การพบจิตแพทย์จะช่วยให้เราได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Search

About

Lorem Ipsum has been the industrys standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

Lorem Ipsum has been the industrys standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged.